บัญชี, การบัญชี
การสอบบัญชี
ภาษี
พรบ.การบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนการค้า
รับทำบัญชี
ตรวจสอบบัญชี
จดทะเบียนบริษัท
 
 
 
 
 
   
 
Monday, January 4, 2016
 

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

 

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

( ฉบับที่ ๔ )

เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกสภาวิชาชีพบัญชี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

และกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง

. ศ . ๒๕๔๗

______________

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกสภาวิชาชีพบัญชีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ ( ๑๑ ) มาตรา ๒๒ วรรคสาม และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ สภาวิชาชี พบัญชีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีจึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ( ฉบับที่ ๔ ) เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกสภาวิชาชีพบัญชี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง พ . ศ . ๒๕๔๗ ”

ข้อ ๒ ขัอบังคับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้

“ นายกสภาวิชาชีพบัญชี ” หมายความว่า นายกสภาวิชาชีพบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ

“ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ” หมายความว่ า กรรมการผู ้ทรงคุณวุ ฒิในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี

“ กรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ” หมายความว่ า กรรมการในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ

“ การประชุมใหญ่ ” หมายความว่า การประชุมใหญ่สามัญหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ

“ วิชาชีพบัญชี ” หมายความว่า วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชีและบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

“ การเลือกตั้ง ” หมายความว่า การเลือกตั้งนายกสภาวิชาชีพบัญชี และหรือกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี

หมวด ๑

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกสภาวิชาชีพบัญชี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

และกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี

_________________

ข้อ ๔ นายกสภาวิชาชีพบัญชีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

( ๑ ) เป็นสมาชิกสามัญ

( ๒ ) มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

( ก ) เป็นหรือเคยเป็ นผู ้อำนวยการฝ่ายการเงินหรือฝ่ายการบัญชี หรือดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย และหรือบริษัทมหาชน ซึ่งมีสิ นทรัพย์ รวมไม่ต่ำกว่า ๑ , ๐๐๐ ล้านบาทเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในวันเลือกตั้ง

( ข ) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในวันเลือกตั้ง โดยต้องเป็นหรือเคยเป็นผู้ สอบบัญชีรับอนุญาตในการตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าสองบริษัทหรือบริษัทมหาชนที่มีสินทรัพย์รวมไม่ต่ำกว่า ๑ , ๐๐๐ ล้านบาทไม่น้อยกว่าสองบริษัท หรือบริษัทมหาชนที่มีสินทรัพย์รวมไม่ต่ำกว่า ๑ , ๐๐๐ ล้านบาทอย่างน้อยหนึ่งบริษัทและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งบริษัท

( ค ) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของกิจการที่ให้บริการด้านการบัญชีแก่องค์กรต่างๆ มาเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในวันเลือกตั้ง

( ง ) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของกิจการที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านภาษีอากรแก่องค์กรต่างๆ มาเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในวันเลือกตั้ง

( จ ) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดหรือระดับรองของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี แล้วแต่กรณีและปฏิบัติหน้าที่ในงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีมาเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าห้าปี

( ฉ ) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ ในระดับไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ผู้สอนวิชาการบัญชี ในสถาบันอุดมศึกษาที่ทางราชการให้การรับรอง ซึ่งสอนเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้ กรณีคุณสมบัติตาม ( ก ) ( ค ) และ ( ง ) อาจนับระยะเวลารวมกันในระหว่าง ( ก ) ( ค ) และ ( ง ) สำหรับระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ ได้ แต่เมื่ อรวมกั นแล้วต้องไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในวันเลือกตั้ง

( ๓ ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

( ๔ ) ไม่เคยถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือสั่งให้พ้นจากสมาชิกภาพสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามกฎหมายอื่น

( ๕ ) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต

( ๖ ) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

( ๗ ) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี หรือกระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต

( ๘ ) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง

ข้อ ๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

( ๑ ) มีสัญชาติไทย

( ๒ ) สำเร็จการศึกษาด้านการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า แล้วแต่กรณี และมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพในด้านนั้นเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในวันแต่งตั้ง

( ๓ ) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔ ( ๓ ) ( ๔ ) ( ๕ ) ( ๖ ) ( ๗ ) และ ( ๘ )

ข้อ ๖ กรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

( ๑ ) เป็นสมาชิกสามัญ

( ๒ ) ปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีเป็นเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี ในวันเลือกตั้ง

( ๓ ) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔ ( ๓ ) ( ๔ ) ( ๕ ) ( ๖ ) ( ๗ ) และ ( ๘ )

หมวด ๒

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง

________________

ข้อ ๗ เมื่อต้องมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าการเลือกตั้งทั่วไปหรือเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างให้คณะกรรมการจรรยาบรรณประกาศให้มีการเลือกตั้ง และกำหนดวันประชุมใหญ่เพื่อดำเนินการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ให้ประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน

ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานและกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่เกินเจ็ดคน เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามข้อบังคับนี้

คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่เสื่อมเสียแก่ความยุติธรรม และต้องไม่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชีหรือกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีในการเลือกตั้งคราวนั้น

ข้อ ๘ ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้ งประกาศกำหนดวันเวลาการรับสมัคร สถานที่รับสมัคร และให้ปิดประกาศหรือแจ้งให้สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีทราบโดยทั่วกันวั นเวลาการรับสมัครต้องกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ และวันสุดท้ายของการรับสมัครต้องมีระยะเวลาก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามสิบวันการปิดประกาศหรือแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำโดยปิดประกาศ ณ ที่ทำการสภาวิชาชีพบัญชี รวมทั้งอาจใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์อื่นใดที่ง่ายต่อการเข้าถึงก็ได้

ข้อ ๙ ผู้ประสงค์สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชี หรือกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีให้ยื่นใบสมัครต่อประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้ง ณ สถานที่ตามประกาศ

การดำเนินการเกี่ยวกับการรับสมัครเลือกตั้งตามส่วนนี้ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งอาจมอบหมายให้กรรมการอำนวยการเลือกตั้งคนหนึ่งคนใดทำหน้าที่ในการรับสมัครและดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งแทนก็ได้

ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติและพิจารณาผลงานของผู้สมัครตามข้อ ๔ และข้อ ๖ ให้เสร็จสิ้นภายในสามวันทำการนับแต่วันปิดการรับสมัคร

ในกรณีที่พิจารณาถ้าเห็นว่าผู้สมัครคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้สั่งไม่รับสมัคร และแจ้งการไม่รับสมัครให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว

ผู้สมัครมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตามวรรคสองต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้คณะกรรมการจรรยาบรรณวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันทำการ

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณให้เป็นที่สุด

ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้สมัครแสดงความประสงค์จะสมัครเป็นคณะ โดยสมัครในตำแหน่งนายกสภาวิชาชีพบัญชี กรรมการสภาวิชาชีพบัญชีครบจำนวน และประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีของแต่ละด้าน ครบทุกด้าน คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั ้งจะกำหนดให้ผู้สมัครทุกคนในคณะเดียวกันมีหมายเลขเดียวกันในการเลือกตั้งก็ได้ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งจัดให้มีหมายเลขของผู้สมัครโดยวิธีการที่เป็นธรรม

ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งมีจำนวนตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งตามข้อบังคับนี้

ข้อ ๑๓ ในวันประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้ง ถ้ามีผู้สมัครเป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชีเพียงคนเดียว หรือมีผู้สมัครเป็นกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งจะขอมติที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบแทนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งตามข้อบังคับนี้ก็ได้

ข้อ ๑๔ สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งต้องแสดงหลักฐานการเป็นสมาชิกพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้

สมาชิกสามัญเท่านั้นที่จะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐาน หากเห็นว่าเป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง ให้มอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้น

ในกรณีที่มีผู้ทักท้วงหรือเป็นที่สงสัยว่าผู้มาใช้สิทธิมิใช่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว และแจ้งให้ผู้นั้นทราบและทำบันทึกคำวินิจฉัยและเหตุผลไว้เป็นหลักฐาน

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งให้เป็นที่สุด

ข้อ ๑๕ ก่อนเปิดการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งเปิดหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อแสดงว่าไม่มีบัตรเลือกตั้งหรือสิ่งใดในหีบบัตรเลือกตั้ง แล้วผนึกหีบบัตรเลือกตั้ง

ข้อ ๑๖ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งให้ตรงกับหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนต้องการเลือก

ข้อ ๑๗ เมื่อดำเนินการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งตรวจนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยเปิดเผย ณ สถานที่เลือกตั้ง จนเสร็จ

ห้ามมิให้มีการเลื่อนหรือประวิงการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งเปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนโดยไม่ชักช้า

ข้อ ๑๘ ในการนับคะแนน ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งปฏิบัติดังนี้

( ๑ ) ห้ามมิให้เทบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรเลือกตั้ง

( ๒ ) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลื อกตั้งหยิบบั ตรเลือกตั้งออกจากหี บบัตรเลือกตั้งทีละบัตร แล้ววินิจฉัยว่าเป็นบัตรที่นับคะแนนได้หรือบัตรเสีย ถ้าเป็นบัตรที่นับคะแนนได้ให้อ่านหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนทันที ถ้าเป็นบัตรเสียให้แยกไว้ต่างหากห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนน ไม่ว่ากรณีใดๆ

( ๓ ) การอ่านคะแนน ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งอ่านหมายเลขประจำตัวผู้สมัครที่ปรากฏเครื่องหมายกากบาทในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งนั้นดังๆ และชูให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งคนอื่น ผู้สมัคร ผู้แทนของผู้สมัคร หรือบุคคลอื่นซึ่งอยู่ ณ ที่นั้นได้เห็นด้วย

( ๔ ) เมื่ออ่านหมายเลขประจำตัวผู้สมัครตามข้อ ( ๓ ) แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ทำหน้าที่อ่านวางบัตรเลือกตั้งลงในภาชนะที่จัดไว้สำหรับใส่บัตรเลือกตั้งเพื่อการนับคะแนน โดยจัดไว้ให้เป็นระเบียบและระมัดระวังมิให้บัตรเลือกตั้งนั้นฉีกขาด ชำรุดหรือเลอะเลือน

( ๕ ) เมื่อหยิบบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรเลือกตั้งหมดแล้วให้คว่ำหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ผู้สมัคร ผู้แทนของผู้สมัคร หรือบุคคลอื่นซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อแสดงว่าได้หยิบบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรเลือกตั้งหมดแล้วจึงหงายหีบบัตรเลือกตั้งไว้ตามเดิม

ข้อ ๑๙ บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย

( ๑ ) บัตรที่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งไม่ได้มอบให้

( ๒ ) บัตรที่ทำเครื่องหมายนอกช่องทำเครื่องหมาย

( ๓ ) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมาย

( ๔ ) บัตรที่ปรากฏว่าได้พับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งบัตร

( ๕ ) บัตรที่มีเครื่องหมายหรือข้อความอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท

( ๖ ) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด

( ๗ ) บัตรที่ทำเครื่องหมายเกินจำนวนผู้เลือกตั้งที่กำหนด

บัตรดังกล่าวให้กรรมการอำนวยการเลือกตั ้งสลักหลังว่า “ เสีย ” และต้องมีกรรมการอำนวยการเลือกตั้งสองคนลงลายมือชื่อกำกับไว้

ในการนับคะแนน หากปรากฏว่ามีบัตรเสีย ให้แยกบัตรเสียออกไว้เป็นส่วนหนึ่ง และห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ว่ากรณีใด

ข้อ ๒๐ ในกรณีบัตรเสียที่มีลั กษณะตามข้อ ๑๙ ( ๒ ) ( ๕ ) หรือ ( ๖ ) ให้ถือว่า เป็นบัตรเสียเฉพาะเครื่องหมายที่ทำนอกช่องทำเครื่องหมาย เครื่องหมายหรือข้อความอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท หรือเครื่องหมายที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใด

ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีการโต้แย้งว่าเป็นบัตรเสียหรือไม่ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งเป็นผู้วินิจฉัย

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งให้เป็นที่สุด

ข้อ ๒๒ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งประกาศผลของการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งนั้น และให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งเรียงลำดับคะแนนจากคะแนนมากที่สุดจนครบจำนวนที่กำหนดไว้

ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชีหรือกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีเท่ากัน ให้ประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งจับสลากระหว่างผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงเท่ากันโดยเปิดเผย

ข้อ ๒๓ เมื่อนับคะแนนเสียงเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งเก็บบัตรเลือกตั้งที่ใช้นับคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วใส่ซองปิดผนึกโดยลงลายมือชื่อคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งกำกับไว้บนซอง และแยกเก็บบัตรเสียไว้ต่างหากบัตรเลือกตั้งและเอกสารอื่นจะทำลายได้เมื่อพ้นระยะเวลาคัดค้านการเลือกตั้งตามข้อ ๒๔ แล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน

ข้อ ๒๔ เมื่อคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชีหรือกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีผู้ใดเห็นว่าการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณภายในกำหนด สามวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

เมื่อได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณให้เป็นที่สุด

ข้อ ๒๕ การเลือกตั้งนายกสภาวิชาชีพบัญชีและกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีคราวแรก ซึ่งยังไม่มีคณะกรรมการจรรยาบรรณนั้น ให้คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีทำหน้าที่ตามข้อ ๗ โดยในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งจากสมาชิกสามัญได้ ให้แต่งตั้งบุคคลที่คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีเห็นสมควร และให้คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามข้อ ๑๐ วรรคสาม และข้อ ๒๔ จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านบัญชีและทางด้านกฎหมายจำนวนสามคนด้วย

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ . ศ . ๒๕๔๗

( ศาสตราจารย์ เกษรี ณรงค์เดช )

นายกสภาวิชาชีพบัญชี

  

Download file : regulation4.pdf

 

   |   ข่าวบัญชี  |   บัญชี-การบัญชี   |   การสอบบัญชี   |   ภาษี   |   พรบ.การบัญชี   |   เครื่องหมายการค้า   |
บริการของเรา   :   รับทำบัญชี   |   ตรวจสอบบัญชี   |   จดทะเบียนบริษัท   |   ลิงค์สำคัญ  l  Site Map
จดทะเบียนธุรกิจ จดทะเบียนนิติบุคคล Copyright @ 2004 buncheeaudit.com - รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท
6/792-3 ถนนรามคำแหง2 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel : 02-397-7201-2 , 02-720-9755-6 Fax : 02-397-7203