สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการวางแผนภาษี คือการเลือกประกอบธุรกิจอย่างไรดีจึงจะทำให้มีต้นทุนต่ำและกำไรสูง และเหมาะสมกับสถานะภาพของกิจการ
1. เลือกรูปแบบการประกอบธุรกิจ ต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่การจัดตั้งรูปแบบของการประกอบการ ว่ามีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ดังนี้
1. จัดตั้งในรูปบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา, ห้างหุ้นส่วนสามัญ, คณะบุคคล
2. จัดตั้งในรูปนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทจำกัด, บริษัทมหาชน, หจก., ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติฯ, มูลนิธิสมาคม, กิจการร่วมค้า, กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน(BOI), กิจการHolding Company เป็นต้น
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลือกรูปแบบองค์กร
รายละเอียด |
เจ้าของคนเดียว |
ห้างหุ้นส่วน |
บริษัทจำกัด |
1. เงินลงทุน |
มีเงินทุนจำกัด |
ระดมทุนได้มากขึ้น |
ระดมทุนได้ง่ายและมาก |
2. การบริหารงาน |
มีอำนาจเต็มที่ |
ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน |
บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท |
3. ความรับผิดในหนี้สิน |
เต็มจำนวน |
เต็มจำนวน/จำกัด |
เฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ |
4. ผลกำไรขาดทุน |
ไม่ต้องแบ่งใคร |
เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน |
จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ |
5. ภาษีเงินได้ |
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% |
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี |
อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี |
6. ความน่าเชื่อถือ |
น้อย |
ปานกลาง |
มาก |
2. เลือกประเภทธุรกิจ เพราะประเภทธุรกิจมีผลต่อการจัดทำบัญชี และเสียภาษีต่างกัน อาทิเช่น
- ประเภทธุรกิจขายสินค้า ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้า, ซื้อมาขายไป, นำเข้าส่งออก, เช่าซื้อผ่อนชำระ, อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
- ประเภทธุรกิจบริการ ได้แก่ ธุรกิจภัตตาคาร, โรงแรม, รับจ้างทำของ, ซ่อมแซม, รับเหมาก่อสร้าง, ขนส่ง, ฯลฯ
หากกิจการทำธุรกิจให้บริการ มีข้อดีคือ ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ, จุดรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดเมื่อมีการชำระเงิน แต่ข้อเสียคือจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จากรายได้ค่าบริการ
หากกิจการทำธุรกิจขายสินค้า มีข้อดีคือ ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แต่จะต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ, จุดรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า แม้จะยังไม่ได้ชำระเงินก็ตาม
|