บัญชี, การบัญชี
การสอบบัญชี
ภาษี
พรบ.การบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนการค้า
รับทำบัญชี
ตรวจสอบบัญชี
จดทะเบียนบริษัท
 
 
 
 
 
   
 
Monday, January 4, 2016
 

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

 

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

(ฉบับที่ ๑๒ )

เรื่อง การพิจารณาเกี่ยวกับจรรยาบรรณ

. ศ . ๒๕๔๙

___________

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดวิธีพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ ( ๑๑ ) มาตรา ๓๐ และมาตรา ๕๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สภาวิชาชีพบัญชีจึงออกข้อบังคับไว้ ดัง ต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ( ฉบับที่ ๑๒ ) เรื่อง การพิจารณาเกี่ยวกับจรรยา บรรณ พ . ศ . ๒๕๔๙ ”

ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้

“ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพบัญชี

“ ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ” หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นผู้ทำบัญชี ตามมาตรา ๔๔ หรือที่จะมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙

“ คณะอนุกรรมการ ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสอบสวน

ข้อ ๔ ให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้


หมวด ๑

บททั่วไป

______

ข้อ ๕ กระบวนการสอบสวนและพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗

เพื่อให้กระบวนการสอบสวนและการพิจารณาดำเนินไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเป็น ธรรม นายกสภาวิชาชีพบัญชี โดยอนุมัติคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี มีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับการดังกล่าว

ข้อกำหนดนั้น ต้องอยู่ภายในกรอบของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงใช้บังคับได้

ข้อ ๖ คณะกรรมการจรรยาบรรณจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการแทนและเสนอความเห็นเป็นรายเรื่องไปก็ได้ โดยดำเนินการตามมาตรา ๕๓ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗

ข้อ ๗ เพื่อช่วยในการทำการสอบสวนตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ ให้นำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณี

คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งมีหน้าที่ทำการสอบสวนเฉพาะเรื่องนั้น โดยเริ่มทำการสอบสวนภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันแต่งตั้ง และพ้นหน้าที่เมื่อเรื่องถึงที่สุด

ให้ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณแจ้งคำสั่งการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ผู้กล่าวหาและ ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย

ข้อ ๘ ในกรณีที่มีปัญหาการแปลความเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้วินิจฉัย และถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีเป็นที่สุด

หมวด ๒

การคัดค้าน

______

ข้อ ๙ กรรมการจรรยาบรรณหรืออนุกรรมการอาจถูกคัดค้านได้ด้วยเหตุดังต่อ ไปนี้

( ๑ ) เป็นผู้กล่าวหา

( ๒ ) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา

( ๓ ) เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้น ใดของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา

( ๔ ) เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่า วหา

( ๕ ) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา

( ๖ ) มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่กล่าวหา

( ๗ ) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา

( ๘ ) มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม

ข้อ ๑๐ ในการคัด ค้านกรรมการจรรยาบรรณ หรืออนุกรรมการ ผู้คัดค้านต้องทำเป็นหนังสือ และแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้าน ตามที่ระบุในข้อ ๙ ไว้ในหนังสือคัด ค้านด้วย

การคัดค้านกรรมการจรรยาบรรณต้องกระทำก่อนการพิจารณาเสร็จสิ้น

การคัดค้านอนุกรรมการ ต้องกระทำภายใน ๗ วันนับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ หรือวันทราบเหตุแห่งการคัดค้าน ทั้งนี้ ต้องกระทำก่อนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการเสร็จ สิ้น

คำคัดค้านให้ยื่นต่อประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ

ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาเรื่องที่มีการคัดค้านโดยไม่ชักช้า ผู้ที่ถูกคัด ค้านเมื่อได้แถลงหรือชี้แจงต่อที่ประชุมแล้ว ไม่มีสิทธิเข้าร่วมพิจารณาหรืออยู่ในที่ประชุม

ข้อ ๑๒ ในการพิจารณาคำคัดค้านดังกล่าว หากเห็นว่าคำคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้ ให้ผู้ถูกคัด ค้านพ้นจากการทำหน้าที่สอบสวนและพิจารณาสำหรับเรื่องนั้น แต่หากเห็นว่าคำคัดค้านไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้ ให้ยกคำคัดค้านนั้น โดยให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านและคณะอนุกรรมการทราบ คำสั่งเกี่ยวกับคำคัดค้านให้เป็นที่สุด

ข้อ ๑๓ การพ้นหน้าที่เนื่องจากถูกคัดค้าน หรือการเปลี่ยนแปลงอนุกรรมการสอบสวน ไม่กระทบถึงการสอบสวนและพิจารณาที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เว้นแต่ผลการสอบสวนที่เสียความเป็นธรรมก็ให้สอบสวนแก้ไขเพิ่มเติมได้

หมวด ๓

คำกล่าวหา

________

ข้อ ๑๔ คำกล่าวหาว่าผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี ประพฤติผิดจรรยาบรรณต้องทำตามแบบคำกล่าวหาของสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งอย่างน้อยต้องมีชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้กล่าวหา และชื่อตัว ชื่อสกุลของผู้ถูกกล่าวหา ข้อเท็จ จริง แห่งการประพฤติผิดจรรยาบรรณ และลายมือชื่อผู้กล่าวหาพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หลัก ฐานแสดงตนที่ทางราชการออกให้ หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล พร้อมทั้งหลักฐานประกอบการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ถูกกล่าวหา

กรณีได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากหน่วยงานของรัฐ ศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบ สวน ไม่จำต้องแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง

ข้อ ๑๕ ผู้กล่าวหาต้องยื่นคำกล่าวหาพร้อมสำเนาตามจำนวนของผู้ถูกกล่าวหาต่อประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

ข้อ ๑๖ ให้ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการจรรยา บรรณมอบหมายทำการตรวจสอบคำกล่าวหาโดยไม่ชักช้า

หากเห็นว่าคำกล่าวหามีข้อบกพร่อง หรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจ หรือผิดหลงอันเห็นได้ชัดว่าเกิดจากความไม่รู้หรือความเลินเล่อ หรือยังขาดรายละเอียดที่จะเข้าใจได้หรือรายละเอียดยังไม่ชัดแจ้ง ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณมอบหมาย อาจมีคำสั่งให้ผู้ ยื่นคำกล่าวหาแก้ไขเพิ่มเติมคำกล่าวหาให้ถูกต้องครบถ้วน หรือให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและหลักฐานเพิ่มเติมภาย ใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

คำกล่าวหาที่ไม่ปรากฏชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้กล่าวหา และชื่อตัว ชื่อสกุลของผู้ถูกกล่าวหาคณะกรรมการจรรยาบรรณจะไม่ รับไว้พิจารณา

ข้อ ๑๗ หากประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณมอบ หมายเห็นว่า คำกล่าวหามีมูลว่ากระทำความผิดเรื่องจรรยาบรรณ หรือมีเหตุอันสมควรให้มีการสอบสวนเรื่องจรรยาบรรณ ให้รับเป็นคำกล่าวหา

ในกรณีที่เห็นว่าคำกล่าวหาไม่มีมูลว่ากระทำความผิดเรื่องจรรยาบรรณ หรือสิทธิกล่าวหาสิ้นสุด ลง หรือมีเหตุอันไม่สมควรให้มีการสอบสวนเรื่องจรรยาบรรณ ให้มีคำสั่งไม่รับคำกล่าวหา โดยให้แจ้งแก่ผู้กล่าวหาทราบโดยเร็ว พร้อมแสดงเหตุผลแห่งการไม่รับคำกล่าวหา

ข้อ ๑๘ เมื่อประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณมอบ หมายมีคำสั่งรับเป็นคำกล่าวหาแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณมอบหมาย ส่งสำเนาคำกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทุกคนแล้วแต่กรณี พร้อมแจ้งสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการยื่นคำแก้ข้อกล่าว หาให้ทราบด้วย

หมวด ๔

การส่งเอกสาร การแจ้ง และการตรวจดูเอกสาร

_______

ข้อ ๑๙ การยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐานต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะ อนุกรรมการ คู่กรณีจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นก็ได้ หรือจะทำโดยวิธีส่ง ทางไปรษณีย์ลง ทะเบียนก็ได้ ในกรณีที่ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ถือว่าวันที่ส่งเอกสารหรือพยานหลักฐานแก่เจ้า พนักงานไปรษณีย์เป็นวันที่ยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐานต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณ หรือคณะ อนุกรรมการ

ให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีจัดให้มีเจ้าหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีทำหน้าที่รับ - ส่งตามระบบงานสารบรรณ

การมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐาน ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มอบ ผู้รับ มอบ และพยาน

ข้อ ๒๐ การส่งสำเนาคำกล่าวหาหรือการแจ้งใดๆ ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ส่งไปยังที่อยู่หรือภูมิลำเนา หรือสำนักงานของผู้ถูกกล่าวหาที่จดแจ้งไว้ต่อนายทะเบียนโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับสำเนาคำกล่าวหาหรือการแจ้งใดๆ และคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการได้ตรวจสอบภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหาจากทางราชการแล้ว ปรากฏว่าภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหาได้เปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้จดแจ้งไว้ต่อ นายทะเบียน ให้ส่งสำเนาคำกล่าวหาหรือการแจ้งใดๆ ให้แก่ ผู้ถูกกล่าวหา ณ ภูมิลำเนาที่ตรวจสอบได้ดัง กล่าว

ในกรณีที่ตรวจสอบจากทางราชการแล้ว ไม่พบภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหาให้ประกาศแจ้ง คำกล่า วหาหรือการแจ้งใดๆ ณ สภาวิชาชีพบัญชีหรือสถานที่อื่นใดที่คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการเห็นว่าควรเป็นสถานที่ที่ผู้ถูกกล่าวหาควรทราบได้

การชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ต้องทำตามแบบคำแก้ข้อกล่าวหาของสภาวิชาชีพบัญชี และยื่นพร้อมสำเนา ตามจำนวนผู้กล่าวหาต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้

ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหา ไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว หรือมีพฤติกรรมที่เป็นการประวิงเวลาให้การพิจารณาของคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการต้องล่าช้าออกไป อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการ จะพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณดังกล่าวและวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่แล้วเท่านั้น

ข้อ ๒๑ เอกสารหรือพยานหลักฐานที่ผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหายื่นต่อคณะกรรมการจรรยา บรรณหรือคณะอนุกรรมการ หรือที่คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการได้มา ให้เปิดโอกาสแก่คู่กรณีขอตรวจ ดู คัดสำเนา หรือขอสำเนาอันรับรองถูกต้องได้ เว้นแต่กรณีที่คณะ กรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการเห็นว่า ห้ามเปิดเผยเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่การสอบ สวนพิจารณา

ในกรณีที่เอกสารหรือพยานหลักฐานมีการกำหนดชั้นความลับไว้ มีข้อความไม่เหมาะสม หรือมีข้อความที่อาจเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบุคคลใด ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการที่จะไม่ให้คู่กรณีขอตรวจดู คัดสำเนา ขอสำเนาอันรับรองถูกต้อง หรือไม่ส่งสำเนาให้คู่กรณี

ข้อ ๒๒ บุคคลซึ่งเป็นพยานหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำขอต่อคณะกรรมการจรรยา บรรณหรือคณะอนุกรรมการเพื่อขอตรวจดูเอกสารทั้งหมดหรือบางฉบับในสำนวนเรื่อง หรือขอสำเนาหรือขอสำเนาอันรับรองถูกต้องก็ได้ โดยเสียค่าตรวจดูเอกสาร หรือค่าขอสำเนาเอกสารตามที่กำหนด แต่ทั้งนี้ห้ามอนุญาตเช่นว่านั้นแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือในกรณี ที่มีกฎหมาย คุ้มครองให้ไม่ต้องเปิดเผย หรือกรณีที่คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการเห็นว่าจำเป็นต้องไม่เปิด เผย เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวนพิจารณา

หมวด ๕

การสอบสวนและพิจารณา

___________

ข้อ ๒๓ ในการสอบสวนเรื่องจรรยาบรรณ คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะ อนุกรรมการต้องสอบสวนให้ได้ความเป็นจริง โดยอาจสอบสวนข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะ สมในเรื่องนั้นๆ ไม่ต้องผูกพันเฉพาะอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี

การสอบสวนข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการไต่สวนและแสวงหาพยานหลักฐาน ทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง การรับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่ผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้าง

ข้อ ๒๔ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิทำคำแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำกล่าวหา หรือภายในกำหนดระยะเวลาซึ่งประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือประธานคณะอนุกรรมการได้ขยายให้

ข้อ ๒๕ ผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้ แจงได้ โดยเสียค่าตรวจดูเอกสารตามที่กำหนด

ข้อ ๒๖ ในการสอบสวนหรือดำเนินการประชุมไม่ว่าของคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการ ต้องมีกรรมการหรืออนุกรรมการเกินกึ่งหนึ่ง จึงเป็นองค์ประชุม

ในการทำความเห็น ให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการหรืออนุกรรมการที่มาร่วม ประชุมและมีสิทธิเข้าประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการหรืออนุกรรมการฝ่ายเสียงข้างน้อยจะทำความเห็นแย้งก็ได้

ข้อ ๒๗ ในการสอบสวนหากคณะอนุกรรมการเห็นว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพียง พอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว ให้คณะอนุกรรมการทำความเห็นเสนอคณะกรรมการจรรยาบรรณต่อไป

ความเห็นของคณะอนุกรรมการต้องประกอบด้วยสรุปคำกล่าวหา และคำแก้ข้อกล่าวหา ข้อเท็จ จริง จากการสอบสวน โดยแสดงเหตุผลและข้อเสนอในการลงโทษ หรือยกคำกล่าวหา โดยให้คณะอนุกรรมการที่ร่วมทำความเห็นลงลาย มือชื่อไว้

ข้อ ๒๘ เมื่อคณะกรรมการจรรยาบรรณได้รับความเห็นจากคณะอนุกรรมการแล้ว ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณวินิจฉัยโดยเร็ว

ให้นำความในวรรคสองของข้อ ๒๗ มาบังคับใช้กับการทำคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยา บรรณด้วยโดยอนุโลมก็ได้

บทเฉพาะกาล


ข้อ ๒๙ ในวาระเริ่มแรก กรณีที่มีผู้แทนของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ได้ร่วมพิจารณาเรื่อง จรรยาบรรณ สอบสวน หรือหาข้อเท็จจริงใดกับหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่พิจารณาจรรยาบรรณ ให้ถือว่า หากไม่มีข้อ มูลใหม่เพิ่มเติม คณะกรรมการจรรยาบรรณสามารถนำข้อมูลของคณะกรรมการ คณะ อนุกรรมการ หรือคณะทำงานของหน่วยงานอื่น มาเป็นหลักฐานในการพิจารณาของคณะกรรมการจรรยา บรรณได้ เว้นแต่กรณีที่ความเห็นของผู้แทนคณะกรรมการจรรยาบรรณ ขัดแย้งกับมติของหน่วยงานอื่นนั้น

ในกรณีที่มิได้มีผู้แทนของคณะกรรมการจรรยาบรรณเข้าร่วมพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณ สอบ สวน หรือหาข้อเท็จจริงใดกับหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่พิจารณาจรรยาบรรณ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการจรรยา บรรณที่จะพิจารณาผลการตัดสินของหน่วยงานอื่นนั้น

ข้อ ๓๐ บรรดาเรื่องจรรยาบรรณที่ยังสอบสวนและพิจารณาไม่ถึงที่สุด ให้ใช้ข้อบังคับนี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการใดๆ ที่ได้ทำไปแล้วก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พ.ค. ๒๕๔๙

( ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช )

นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์

  

Download file : regulation12.pdf

   |   ข่าวบัญชี  |   บัญชี-การบัญชี   |   การสอบบัญชี   |   ภาษี   |   พรบ.การบัญชี   |   เครื่องหมายการค้า   |
บริการของเรา   :   รับทำบัญชี   |   ตรวจสอบบัญชี   |   จดทะเบียนบริษัท   |   ลิงค์สำคัญ  l  Site Map
จดทะเบียนธุรกิจ จดทะเบียนนิติบุคคล Copyright @ 2004 buncheeaudit.com - รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท
6/792-3 ถนนรามคำแหง2 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel : 02-397-7201-2 , 02-720-9755-6 Fax : 02-397-7203