ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
( ฉบับที่ ๒ )
เรื่อง สมาชิกและการรับสมัครสมาชิก
พ . ศ . ๒๕๔๗
----------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ และกำหนดวิธีการรับสมัครสมาชิกไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ ( ๑๑ ) มาตรา ๑๓ ( ๔ ) ( ๕ ) และ ( ๖ ) มาตรา ๑๔ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ สภาวิชาชีพบัญชีจึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ( ฉบับที่ ๒ ) เรื่อง สมาชิกและการรับสมัครสมาชิก พ . ศ . ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี ้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ หรือสมาชิกสมทบ แล้วแต่กรณี
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
ปี หมายความว่า ปีปฏิทิน
หมวด ๑
สมาชิกสามัญ
________
ข้อ ๔ สมาชิกสามัญต้องมี คุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ ( ๑ ) ( ๒ ) และ ( ๓ ) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบังคับนี้ด้วย
ข้อ ๕ กรณีดั งต่อไปนี้ ให้ถือว่าสมาชิกสามัญเป็ นผู้มีพฤติการณ์อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีตามมาตรา ๑๓ ( ๔ ) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗
( ๑ ) ได้รั บโทษจรรยาบรรณไม่ ว่าด้วยโทษใดก็ตามตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ หรือตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี ด้วยเหตุที่มีข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
( ก ) แสดงความเห็นต่องบการเงินโดยมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ
( ข ) มีพฤติกรรมรับจ้างลงลายมือชื่อ
( ค ) แนะนำให้ลูกค้าเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
( ง ) แสดงความเห็นต่องบการเงินที ่นำส่งหน่วยราชการหลายแห่ง โดยงบการเงินแต่ละชุดแสดงข้อมูลต่างกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร
( จ ) แจ้งข้อความหรือจัดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
( ฉ ) มีพฤติกรรมอื่นตามที่คณะกรรมการจรรยาบรรณกำหนดว่าเป็นพฤติการณ์อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชี
( ๒ ) กระทำผิดจรรยาบรรณโดยได้รับโทษตามมาตรา ๔๙ ( ๔ ) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ ซ้ำกันมากกว่าหนึ่งครั้ง กรณี ตาม ( ๑ ) และ ( ๒ ) ข้างต้น ผู้กระทำต้องพ้นโทษจรรยาบรรณมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี จึงจะสมัครเป็นสมาชิกสามัญได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่สมาชิกสามัญกระทำความผิดและได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกในคดีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นคดีที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามมาตรา ๑๓ ( ๕ ) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗
( ๑ ) คดีตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ ยกเว้นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุก
( ๒ ) ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำหรือรับรองงบการเงินหรือบัญชีอื่นใดอันไม่ถูกต้องหรือทำรายงานเท็จ
( ๓ ) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการพนัน กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน
( ๔ ) ถูกลงโทษเนื่องจากเป็นผู้ล้มละลายทุจริต กรณีตาม ( ๑ ) ( ๒ ) ( ๓ ) และ ( ๔ ) ข้างต้น ผู้กระทำความผิดต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี จึงจะสมัครเป็นสมาชิกสามัญได้
ข้อ ๗ สมาชิกสามัญต้องไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือต้องไม่เป็นโรคที่คณะกรรมการโดยการปรึกษาหารือกับคณะแพทย์ไม่น้อยกว่าสามคนเห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ
หมวด ๒
สมาชิกวิสามัญ
__________
ข้อ ๘ สมาชิกวิสามัญต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
( ๑ ) สมาชิกวิสามัญซึ่งมีสัญชาติไทย
( ก ) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(ข) สำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่ามี ความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
( ค ) ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗
( ๒ ) สมาชิกวิสามั ญผู ้ซึ ่งไม่ มีสั ญชาติไทย ต้องมีคุณสมบั ติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗
หมวด ๓
สมาชิกสมทบ
________
ข้อ ๙ สมาชิกสมทบต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ . ศ . ๒๕๔๗ และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
( ๑ ) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
( ๒ ) มีวุฒิการศึกษา ดังนี้
( ก ) สำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส .) ทางด้านการบัญชีหรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลักบริหารธุรกิจ ( สาขาวิชาการบัญชี ) หรืออนุปริญญาทางการบัญชี หรือ
( ข ) อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านการบัญชี หรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก บริหารธุรกิจ ( สาขาวิชาการบัญชี )
( ๓ ) ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗
หมวด ๔
การรับสมัครสมาชิก
________
ข้อ ๑๐ ผู้ประสงค์สมัครเป็นสมาชิกให้ยื่นใบสมัครตามแบบที่นายกสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด ณ ที่ทำการของสภาวิชาชี พบัญชีหรือสถานที่อื่นที่ นายกสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด หรือส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ โดยขอรับแบบฟอร์มใบสมัครหรือพิมพ์แบบฟอร์มใบสมัครจากระบบข้อมูลสารสนเทศที่สภาวิชาชีพบัญชีจัดบริการ พร้อมทั้งหลักฐานดังต่อไปนี้
( ๑ ) สำเนาปริญญาบัตร อนุปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษา หรือหนังสือรับรองการอยู่ระหว่างการศึกษาในกรณีเป็นผู้สมัครสมาชิกสมทบซึ่งยังไม่สำเร็จการศึกษา
( ๒ ) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหนังสืออื่นใดของทางราชการซึ่งใช้ในการแสดงตนได้ตามกฎหมาย หรือสำเนาหนังสือเดินทางสำหรับผู้ที่มิได้มีสัญชาติไทย
( ๓ ) รูปถ่ายปัจจุบันไม่เกิน ๑ ปี หน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดำ ขนาดหนึ่งนิ้ว จำนวน ๒ รูป
กรณีผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นใบสมัครขอเป็นสมาชิกวิสามัญ ผู้สมัครต้องแสดงหลักฐานว่า ประเทศที่ตนมีสัญชาติยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยประกอบอาชีพสอบบัญชีในประเทศนั้นได้
การสมัครเป็นสมาชิกและชำระค่าบำรุงอาจกระทำได้ ทางไปรษณีย์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่นายกสภาวิชาชีพบัญชีจัดไว้ให้
สมาชิกใหม่ต้องชำระค่าบำรุงพร้อมกับการยื่นใบสมัคร
การชำระค่าบำรุง ให้เป็นไปตามวิธีการที่นายกสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบคุณสมบัติด้านการศึกษาของผู้สมัครเป็นสมาชิกให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายจัดให้ มีรายชื่อสถาบันการศึกษา ชื่อหลักสูตร และเงื่อนไขการศึกษา เสนอคณะกรรมการเพื่อรับรองและจัดทำไว้เป็นการทั่วไป และเพิ่มเติมแก้ไขเป็นระยะ
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษาของผู้สมัครรายใด ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ทั้งนี้ ในการตรวจสอบและรับรองปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตร ของสถาบันการศึกษา ไม่ว่าสถานศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ คณะทำงานอาจพิจารณาจากการรับรองหลักสูตรของส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการรับรองการศึกษาก็ได้
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับใบสมัครสมาชิกและตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนออกบัตรประจำตัวสมาชิกให้กับผู้นั้น ในกรณีที่ไม่รับเป็นสมาชิก ให้คืนค่าบำรุงโดยไม่มีดอกเบี้ย
บัตรประจำตัวสมาชิกให้มีอายุเท่ากับรอบระยะเวลาการชำระค่าบำรุงสมาชิก
แบบบัตรประจำตัวสมาชิก หลักเกณฑ์ วิธีการออกบั ตร การขอมีบัตรใหม่ การขอบัตรใหม่แทนบัตรเดิมที่สูญหายหรือชำรุดเสียหาย การเปลี่ยนข้อมูลบุคคลในบัตร ให้เป็นไปตามที่นายกสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
การออกบัตรประจำตัวสมาชิกสำหรั บปีถัดไปหรือคราวถัดไปอาจกระทำล่วงหน้าก่อนบัตรหมดอายุได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายกสภาวิชาชีพบัญชีกำหนด และก่อนออกบัตรประจำตัวสมาชิก ให้นายทะเบียนตรวจสอบการชำระค่าบำรุงให้ถูกต้องครบถ้วน
การออกบัตรใหม่แทนบัตรเดิมที่สูญหายหรือชำรุดเสียหาย หรือเนื่องจากการเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลในบัตร ต้องชำระค่าทำบัตร ๒๐๐ บาท
ข้อ ๑๓ ให้นายทะเบียนจัดให้มีทะเบียนสมาชิกไว้เป็นหลักฐานและเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปตรวจสอบได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแห่งประเทศไทยเลิกกันให้บรรดาผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย อยู่ในวันที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเลิกกัน ที่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกภายในเดือนมีนาคม พ . ศ . ๒๕๔๘ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าบำรุง ตามข้อ ๑๐ วรรคสี่ โดยมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
( ๑ ) ผู้ซึ่งได้ชำระค่าสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เป็นรายปี ให้เริ่มชำระค่าสมาชิกในปี ๒๕๔๙
( ๒ ) ผู้ซึ่งได้ชำระค่าสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เป็นรายสามปี ให้เริ่มชำระค่าสมาชิกในปี ๒๕๕๑
( ๓ ) ผู้ซึ่งได้ชำระค่าสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เป็นรายห้าปี ให้เริ่มชำระค่าสมาชิกในปี ๒๕๕๓
( ๔ ) ผู้ซึ่งได้ชำระค่าสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ตลอดชีพ ให้เริ่มชำระค่าสมาชิกในปี ๒๕๕๘
ทั้งนี้ โดยให้ถือว่าบุคคลตามวรรคหนึ่งได้ชำระค่าสมาชิกตามข้อบังคับนี้แล้วจนถึงเวลาที่กำหนดใน ( ๑ ) ( ๒ ) ( ๓ ) หรือ ( ๔ ) แล้วแต่กรณี
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ . ศ . ๒๕๔๗
( ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช )
นายกสภาวิชาชีพบัญชี |