วิชาการบัญชี (สำหรับการทดสอบครั้งที่1/2550,2/2550)
ความรู้เกี่ยวกับพรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543
การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามแม่บทการบัญชี
มาตรฐานการบัญชีทุกฉบับ และการตีความมาตรฐานการบัญชี ซึ่ง ก.บช. มีมติให้ประกาศใช้แล้ว
องค์ประกอบของการแสดงรายการ และวิธีจัดทำงบกระแสเงินสด
การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจเฉพาะ เช่น งานก่อสร้างตามสัญญา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การเช่าซื้อ สัญญาเช่าระยะยาว ฯลฯ
การจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียน
ตราสารทางการเงินและวิธีการทางบัญชี
เงินลงทุนและการจัดทำงบการเงินรวม
ปัญหาในการจัดทำบัญชีและงบการเงิน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชี การคำนวณกำไรต่อหุ้น รายการพิเศษ ฯลฯ
ปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน เช่น ภาระผูกพันและเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน กิจการที่เกี่ยวข้องกัน การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน
ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับผู้สอบบัญชีในการประกอบวิชาชีพ เช่น การบัญชีต้นทุนงาน ต้นทุนช่วง ต้นทุนมาตรฐาน การบัญชีตามความรับผิดชอบ เป็นต้น
วิชาการบัญชี 1 (สำหรับการทดสอบครั้งที่3/2550 เป็นต้นไป)
ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและงบการเงินที่เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
แม่บทการบัญชี
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินลงทุน
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
การด้อยค่าของทรัพย์สิน
ประมาณการหนี้สิน
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และการตีความตามมาตรฐานของสภาวิชาชีพที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
วิชาการบัญชี 2 (สำหรับการทดสอบครั้งที่3/2550 เป็นต้นไป)
ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและงบการเงินที่เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
รายได้ของธุรกิจประเภทต่างๆ
การนำเสนองบการเงิน
งบการเงินระหว่างกาล
การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน และเรื่องอื่นๆที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และการตีความตามมาตรฐานของสภาวิชาชีพที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน
ความรู้เกี่ยวกับบัญชีต้นทุน วัตถุประสงค์ของการบันทึกบัญชีต้นทุน การคำนวณต้นทุน และการบันทึกบัญชี การปันส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิต การปันส่วนต้นทุนร่วม และการบัญชีสำหรับผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้
วิชาการสอบบัญชี 1
ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปและแม่บทของมาตรฐานการสอบบัญชี ข้อตกลงในการรับงาน การทุจริตและข้อผิดพลาด
การวางแผนงานสอบบัญชี ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและความมีสาระสำคัญ
การประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน และความเสี่ยงจากการควบคุม
เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบัญชี
วิธีการจัดทำกระดาษทำการ การเลือกตัวอย่างในงานสอบบัญชี และวิธีการตรวจสอบในสาระสำคัญของรายการต่าง ๆ ในงบการเงิน
หลักฐานการสอบบัญชีและวิธีการรวบรวมหลักฐาน
การตรวจสอบรายได้ การตรวจสอบต้นทุนและค่าใช้จ่าย การตรวจสอบเงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน สินทรัพย์ถาวร เจ้าหนี้การค้า หนี้สินอื่น ส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรสะสม
วิชาการสอบบัญชี 2
ความรู้เกี่ยวกับมรรยาท(จรรยาบรรณ)ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ข้อตกลงในการรับงานสอบบัญชี
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนและจัดทำแนวการตรวจสอบ
ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและความมีสาระสำคัญ
การสอบทานและการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี
การใช้บริการหรือผลงานของบุคคลอื่น
การเขียนรายงานการสอบบัญชีในกรณีต่างๆ การเขียนรายงานต่องบการเงินเปรียบเทียบ
การบริการเกี่ยวเนื่องของผู้สอบบัญชีและการรายงานการบริการอื่นของสำนักงานสอบบัญชี
วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท)
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีและการสอบบัญชี การเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์
ประมวลรัษฏากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อากรแสตมป์
วิชาการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำและตรวจสอบบัญชี
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการประมวลผล
การตรวจสอบในสภาพแวดล้อมของระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูล
การประเมินความเสี่ยงและการประเมินประสิทธิผลของการควบคุมในระบบสารสนเทศ
เทคนิคการตรวจสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอบบัญชี
*** ดูเค้าโครงเนื้อหาการทดสอบทั้งหมดของทุกวิชา ***
|